Sunday, 23 September 2007

Single Photon Detector Module

การออกแบบชุดตรวจจับโฟตอนเดี่ยว


จากรูปที่ 2 เมื่อโฟตอนเดี่ยวเคลื่อนที่แบบสุ่มในการทะลุผ่านหรือสะท้อน และผ่านเลนส์นูนแกมระนาบ เพื่อรวมลำแสง (โฟตอนเดี่ยว) ที่ทะลุผ่านหรือสะท้อนให้ตกกระทบบนจุดรับแสงของแอวัลแลนซ์โฟโตไดโอด

สิ่งสำคัญในการจัดทัศนอุปกรณ์ระหว่าง ชุดสุ่มแยกโฟตอนเดี่ยวและชุดตรวจจับโฟตอนเดี่ยวนี้ จะขึ้นอยู่ที่การปรับระยะโฟกัสของเลนส์นูนแกมระนาบให้โฟตอนเดี่ยวสามารถตกกระทบลงบนบริเวณพื้นผิวจุดรับแสงของอะวัลลันซ์โฟโตไดโอดให้ได้แม่นยำมากที่สุด ผลที่ได้จึงจะเป็นค่าที่สมบูรณ์ที่สุดด้วย


จากนั้น สัญญาณที่ได้จากการตรวจจับโฟตอนเดี่ยวของอะวัลลันซ์โฟโตไดโอดแต่ละครั้ง จะถูกส่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบว่าสัญญาณที่ได้มาจากแอวัลแลนซ์โฟโตไดโอดตัวใดจากทั้งหมดสองตัว โดยกำหนดให้ตัวหนึ่งเป็นบิต "0" และอีกตัวหนึ่งเป็นบิต "1"แล้วเก็บเป็นข้อมูลต่อไป


ดังนั้น เมื่อได้ข้อมูลแต่ละครั้งจากอะวัลลันซ์โฟโตไดโอดแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับสัญญาณนาฬิกาที่ใช้ ในชุดขับไดโอดเลเซอร์ ว่ามีฐานเวลาที่ตรงกันหรือไม่


ถ้าฐานเวลาที่ได้ไม่ตรงกันกับข้อมูลสัญญาณที่ตรวจวัดได้ แสดงว่าไม่ใช่ข้อมูลที่ทำการส่งมาหรืออาจจะมีความผิดพลาดระหว่างการส่ง หรือเกิดจากการรบกวนจากภายในหรือภายนอกก็ได้


จึงจะต้องตัดข้อมูลส่วนนั้นทิ้งไป และบันทึกเฉพาะข้อมูลที่มีฐานเวลาตรงกันเท่านั้น เพื่อให้ข้อมูลที่ได้เป็นการสุ่มอย่างแท้จริง (
True Random) ก่อนที่จะนำไปใช้งานจริงในรูปแบบต่างๆต่อไป

No comments: